Japanese Home Trend 2006
โดย Mr.Junya Kitagawara
ผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดและการออกแบบสินค้าเครื่องใช้และของตกแต่งบ้านตลาดญี่ปุ่น จากญี่ปุ่น ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง บริษัท Art Source Inc. ซึ่งประกอบธุรกิจทางด้านการผลิตสินค้าเครื่องใช้และของตกแต่งบ้าน มีประสบการณ์ทางด้านการตลาดและการพัฒนาสินค้าเครื่องใช้และของตกแต่งบ้าน การจัดตกแต่งวางสินค้าในห้างสรรพสินค้าชั้นนำในตลาดญี่ปุ่นมากกว่า 25 ปี นอกจากนี้ยังเป็นผู้แทนจากรัฐบาลญี่ปุ่นในโครงการพัฒนาสินค้า OTOP ของไทยร่วมกับองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO BANGKOK) ในปี ค.ศ. 2002
เทรนด์/แนวโน้มของโลก ( World interior trend)
1990 โลกของเราเป็นยุคของ Hi-Tech Boom ซึ่งจะเน้นในเรื่อง High Technology เพราะฉะนั้นการพัฒนาในเรื่องพลาสติกจึงเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย และมีการใช้สแตนเลสมาทำผลิตภัณฑ์ คนเราเน้นในเรื่องวัตถุเสียมากกว่าที่จะเข้าถึงในเรื่องของจิตใจ ฉะนั้นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมาก็จะเน้นในเรื่องของวัตถุและ Hi-Tech มากกว่าที่จะเข้าใจถึงความหมายทางจิตใจ
2000 เนื่องจากโลกเราเน้นเรื่องวัตถุมานานพอสมควร จึงถึงยุคที่ผู้คนต้องการความอบอุ่นและต้องการในเรื่องของจิตใจมากขึ้น ความต้องการในลักษณะนี้จึงสูงขึ้นตามลำดับ จึงเป็นที่มาของ แนวโน้มซึ่งเป็น “Asian Boom”
Asian Boom คนที่อยู่ในเมืองใหญ่ซึ่งมีชีวิตที่ยุ่งเหยิงหลังจากที่ได้สัมผัสสิ่งที่เน้นในเรื่องของวัตถุมามาก ผู้คนเหล่านั้นก็ต้องการอะไรที่เป็นเรื่องของความอบอุ่นและความต้องการของจิตใจมากขึ้น จึงเป็นที่มาสู่ความนิยมการกลับสู่ธรรมชาติสินค้าที่มนุษย์สร้างขึ้นจึงเริ่มที่จะรียกร้องหาสิ่งที่เป็นธรรมชาติมากขึ้น
Minimalist “คาโตรินุ เนมิ” เป็นนักออกแบบคนหนึ่งซึ่งใช้สไตล์ “minimalist” มาออกแบบสินค้าสไตล์นี้ เธอมีการจัดแจงสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน ผสมผสานได้ดีมากๆ นั้นก็คือการใช้วัสดุธรรมชาติจากเอเชีย แล้วทำในรูปแบบที่เป็นสไตล์ญี่ปุ่น แต่หน้าที่การใช้งานก็ทำแบบทันสมัยสไตล์ยุโรป ออกมาในรูปแบบ simple minimal style ด้วยแนวคิดในลักษณะนี้จึงเป็นรุ่งบุกเบิกที่กำลังจะเกิดขึ้นท่ามกลางสไตล์เก่าๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงไป อันเป็นแนวความคิดพื้นฐานที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน หลังจากที่โลกเรามีความรู้สึกว่าสไตล์ simple และ minimal เป็นสิ่งที่ต้องการ
Scandinavian Style เมื่อย้อนกลับมาถึงการใช้วัสดุธรรมชาติ เน้นรูปแบบหรือ shape ที่เป็นธรรมชาติ Scandinavian Style เป็นแนวทางการออกแบบใหม่เน้นรูปลักษณ์ธรรมชาติ แต่ใช้เส้นตรง เส้นโค้งหรือมุมฉาก ซึ่งเป็นรูปลักษณ์ที่ดูชัดเจนมากขึ้นหากเราไปดูในตลาดที่มีสินค้าสไตล์ญี่ปุ่นหรือสไตล์แบบ Scandinavian style เราก็ได้ข้อคิดต่างๆ มากมายว่าเราจะพัฒนาสินค้าของเราไปในทิศทางไหน ถ้าเราดูสินค้าที่เป็นที่นิยมที่ใช้วัสดุธรรมชาติ และมีรูปแบบที่เรียบง่าย simple การออกแบบสินค้าให้มีลักษณะ simple ไม่ได้หมายความว่า ใช้ธรรมชาติทั้งชิ้นงาน แต่เป็นรูปแบบที่พัฒนาและได้รับการขัดเกลาด้วยเทคนิคชั้นสูง เทคนิคชั้นสูงอาจได้มาจากภูมิปัญญาดั้งเดิมก็ว่าได้ เช่น ญี่ปุ่นมีการทำการจักสานหรือการทำเฟอร์นิเจอร์โดยไม่ใช้ตะปู หรือการทำให้ไม่มีรอยต่อ ซึ่งเป็นเทคนิคชั้นสูงที่สืบทอดมายาวนาน ก็สามารถประยุกต์ใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์ในปัจจุบัน
Nordic Style แท้จริงแล้ว Nordic style กับ Zen style มีความคล้ายกัน กล่าวคือ มีความเป็น simple แต่ทั้งนี้มีความแตกต่างกันตรงที่ว่า ความเป็น simple ของ zen style นั้นมีมานานแล้วในญี่ปุ่น โดยใช้หลักการของ zen คือการใช้เส้นโค้งและเส้นตรงมาผสมผสานกัน ใช้สีที่เรียบง่าย เช่น สีขาว – ดำ แต่ Nordic style นิยมรูปแบบที่มีความโค้ง การใช้เส้นโค้งค่อนข้างสูง และก็นิยมใช้เทคนิคในขั้นสูงด้วย
Mid century ทั้งในเรื่องของแฟชั่นและ interior ซึ่งจะย้อนไปถึงในปี 1960, 1970 หรือสไตล์ในรูปแบบนั้นก็หันมานิยมอีกครั้ง แฟชั่นและ interior ก็จะเป็นสไตล์เดียวกัน พอมาถึงปีนี้ 2005 ก็เอาข้อดีของทุกสไตล์มารวมกันกลายเป็น mix style ในปี 2005
Mix style เป็นการรวมสไตล์หลาย ๆ อย่าง ครบทุกรสชาติ เช่น การใช้รูปแบบ European style ผสม zen style, เฟอร์นิเจอร์แบบ Scandinavian style ผสมกับผ้าไหมไทย เป็นต้น ซึ้งถือได้ว่าเป็นโอกาสดีของนักออกแบบในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์สู่ตลาดโลก เพราะสิ่งที่เรากำลังทำอยู่มันสามารถตอบสนองความต้องการของโลกได้มากทีเดียว เพราะฉะนั้น เราคงจะออกแบบด้วยความคิดของเราเพียงอย่างเดียวไม่ได้ ควรดูความนิยมของโลกโดยรวมว่ามีทิศทางอย่างไร เพื่อเราจะได้ออกแบบตามความต้องการของตลาด เรามีการหา originality หรือ ความเป็นตัวเองของเราได้เร็ว เราก็จะโดดเด่นขึ้นมาและสามารถประกาศตัวได้เร็วกว่าประเทศอื่น
เทรนด์หรือแนวโน้มของ interior style ปี 2005 ในญี่ปุ่นแบ่งย่อยออกเป็นลักษณะต่างๆ ดังนี้
1. Cool Romantic เมื่ออยู่กับความเรียบง่ายหรือ simple นานๆ เราจึงต้องการความอ่อนหวานมากขึ้น แนวโน้มในลักษณะ cool romantic จึงมีบทบาทมากขึ้น การตกแต่งในลักษณะนี้ เช่น ท่ามกลางเฟอร์นิเจอร์ที่ simple modern ของเรา เราอาจจะใส่สิ่งเติมเต็มเข้าไป อาทิ การใส่ ชานเดอร์เลียแบบใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดความรู้สึกความเป็นโรแมนติกมากขึ้น เป็นความหวานที่มีความเท่ผสม
2. Feminine Style แนวโน้มในลักษณะนี้ก็มาจากแนวโน้มของเสื้อผ้า ความเป็น Feminine ในแต่ละยุคก็จะมีลักษณะโดดเด่นผิดกัน ไม่เพียงแต่เสื้อผ้าเพียงอย่างเดียว ตัวเฟอร์นิเจอร์อาจเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่สื่อถึงความเป็นผู้หญิงได้ การตกแต่งในลักษณะแบบ Feminine Style เช่น การใช้เชิงเทียน ถ้าเรานำรูปแบบคลาสสิคแบบโดยใช้เชิงเทียนที่ทำด้วยวัสดุ ทองเหลือง โลหะ มาตกแต่ง ก็จะสื่อถึงอีกอารมณ์ แต่ถ้าเป็นเชิงเทียนซึ่งใช้สีที่ทันสมัย ความรู้สึกก็จะแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นความเป็น feminine ในปัจจุบันกับสมัยก่อนจึงมีความแตกต่างกัน
3. Natural Style สไตล์ที่อยู่ในตลาดนานมากคือ natural style ซึ่งได้เปลี่ยนไปทีละเล็กละน้อย ลวดลายแบบ natural style ในเวลานี้ก็จะเปลี่ยนเป็นลายใบไม้ ลายดอกไม้แบบ silhouette แนวโน้มสีก็จะเป็นสีเขียวแบบเขียวใสๆ นอกจากสีเขียวแล้ว ก็จะมี ม่วง น้ำเงิน ซึ่งสามารถนำไปเข้าคู่ (matching) กันกับสีโทนน้ำตาลได้ง่ายๆ แนวโน้มเครื่องเรือนในสไตล์นี้ก็จะเป็นสีแบบธรรมชาติ
4. Modern Asia สไตล์ Modern Asia มีความแตกต่างจาก Asian Boom หรือ Zen Style กล่าวคือ มีการพัฒนาขึ้นมากกว่า 10 ปีก่อน ภาพโดยรวมจะเป็นลักษณะแบบตะวันตก แต่มีการใช้วัสดุเทคนิค แบบเอเชีย เช่นวัสดุที่เป็นไม้ เทคนิคการจักสาน สีที่เป็นแนวโน้มคือธรรมชาติสีอ่อนๆ สีเขียว
credit: http://www.bareo-isyss.com