Wednesday, November 30, 2011

วิธีดูแลผนังบ้าน หลังน้ำท่วม

ผนังบ้านแช่น้ำนานๆ…จะแก้ไขดูแลอย่างไร
(How to keep back the flood wall)

ปัญหาที่ทุกบ้านที่ประสพปัญหาน้ำท่วมต้องเจอ และหาทางแก้ไขซ่อมแซมก็คือเรื่องผนัง

อ.ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ อธิบายถึงวิธีแก้ไขไว้ดีมากจากหนังสือ ร้อยพันปัญหาในงานก่อสร้าง เลยขอนำมาถ่ายทอดต่อ เพราะการแก้ไข ถ้ารีบร้อนไป อาจไม่ได้ช่วยอะไร และอาจต้องเสียเงินซ้ำสอง ลองมาดูกันเลยค่ะว่าเราควรทำอย่างไร กับผนังบ้านแบบต่างๆ

1. ผนังทำด้วยไม้ — ไม่ต้องทำอะไรมากปล่อยให้แห้งก็เพียงพอแล้ว เมื่อน้ำในบ้านลดลง เอาผ้าเช็ดทำความสะอาด ขจัดคราบความสกปรกออก เพื่อสุขภาพของคนในบ้าน และเพื่อผิวที่ทำความสะอาดแล้วสามารถระเหยความชื้นออกมาได้ง่าย ทิ้งไว้จนแน่ใจว่าผนังของเราแห้งดี (อย่าทาแลคเกอร์ หรือน้ำยารักษาเนื้อไม้ หรือสีทาผนัง ก่อนที่จะให้ตัวผนังแห้ง เพราะจะทำให้น้ำและความชื้นระเหยไม่ออก จะเกิดอาการ “ชื้น และผุฝังใน” การทาสี หรือทายารักษาเนื้อไม้ อาจจะทาเฉพาะด้านในตัวบ้านก่อนก็ได้ แล้วทิ้งไว้สักหลายเดือนจึงค่อยทาสีภายนอกตัวอาคาร เพื่อให้มั่นใจจริงๆว่าผนังของเราแห้งสนิทแล้ว (อย่าอายใคร หากบ้านเราจะไม่สวยสัก 5-6 เดือน)

2. ผนังก่ออิฐฉาบปูน — ก็ให้ทำแบบเดียวกับผนังไม้ตามข้อแรก แต่อาจจะต้องทิ้งเวลานานหน่อย เพราะการระบายความชื้นของผนังก่ออิฐยากกว่าผนังไม้ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ผนังไม้อาจแตกต่างจากผนังก่ออิฐก็คือ “สิ่งที่อยู่ภายใน” ไม่ว่าจะเป็นสายไฟฟ้า ท่อไฟฟ้า ท่อน้ำ ฯลฯ เราต้องตรวจสอบสิ่งเหล่านี้ด้วยว่าอยู่ในสภาพดีเหมือนเดิมหรือไม่

นอกจากนี้ การให้ความชื้นระเหยออกได้ง่าย ต้องพยายามไม่เอาสิ่งของหรือตู้ โต๊ะติดไว้ที่ผนัง แต่ก็ไม่ควรถึงกับเอาเอาไฟสปอทไลท์มาส่องให้ความร้อนเพื่อให้ความชื้นระเหยออกมาเร็วๆ ซึ่งไม่คุ้มกันเพราะจะเสียค่าไฟเพิ่มและเป็นการสิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็น เก็บเงินค่าไฟไว้เป็นค่าซ่อมบ้านดีกว่า

3. หากผนังทำด้วยยิบซั่มบอร์ด ก็คงต้องเลาะเอาแผ่นยิบซั่มออกจาตัวโครงเคร่าผนัง แล้วทิ้งแผ่นยิบซั่มไป ถ้าโครงเคร่าทำด้วยโลหะ ก็สามารถติดแผ่นใหม่เข้าแทนที่ได้เลย แต่หากโครงเคร่าเป็นไม้ คงต้องทิ้งไว้สักหลายวันให้ความชื้นในโครงไม้ระเหยออกเสียก่อน จึงค่อยบุแผ่นใหม่เข้าแทนที่

4. ผนังที่ทำด้วยโลหะ หรือผนังที่ทำด้วยกระจก ยามน้ำท่วมคงไม่เป็นอะไรมาก แต่เมื่อน้ำลดแล้วน่าจะต้องตรวจสอบตามซอกตามรอยต่อ ว่ายังมีน้ำหรือเศษขี้ผงฝังในอยู่หรือไม่ หากมีก็ทำความสะอาดเสีย (ควรดูด้วยว่ามีน้ำขังอยู่ในท่อของโครงอลูมีเนียมหรือไม่ ถ้ามีก็ต้องเอาออกเหมือนกัน)

5. ผนังชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นผนังกระดาษอัด ผนังสังกะสี ผนังไม้อัด ฯลฯ จะมีธรรมชาติคล้ายกับผนังทั้ง4 อย่างที่กล่าวมาข้างต้น ลองเปรียบเทียบดูแล้วแก้ไขตามแนวทางนั้นๆ


*การซ่อมวอลล์เปเปอร์หลังน้ำท่วม

เมื่อน้ำท่วมบ้านที่มีผนังบุด้วย วอลล์เปเปอร์ มีวิธีแก้ไขและซ่อมแซม ดังนี้

วอลล์เปเปอร์จะมีลักษณะคล้ายสี ถ้าโดนความชื้นมากๆ จะลอกหรือร่อน การแก้ไขก็โดยการลอกออกให้หมด เพื่อให้ผนังที่ชื้นสามารถระเหยออกมาได้ โดยรอให้ผนังแห้งจริงๆ แล้วจึงปิด วอลล์เปเปอร์ทับลงไป อาจจะปิดเองถ้าทำได้ หรือตามช่างมา ก็ได้



credit: http://www.iurban.in.th/diy/how-to-fix-the-wall-after-flooding/

Tuesday, November 22, 2011

"Baking Soda" ทำความสะอาดบ้าน แบบปลอดสารพิษ

(Baking Soda Cleaning)

สุดสัปดาห์นี้ คงมีหลายๆคนแวะเข้าไปดูบ้านที่น้ำท่วม และอีกหลายๆคนที่เริ่มทำความสะอาดบ้าน มีคำถามมากมายว่าเราจะใช้อะไรทำความสะอาดบ้านกันดี ในความเห็นของเราควรใช้สิ่งที่ทำความสะอาดได้ดี และไม่แพง เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปลอดภัยกับตัวเราเองที่ต้องเป็นคนทำความสะอาดด้วยค่ะ

ถ้าเราต้องสูตรดมสารเคมีมากๆ ระหว่างทำความสะอาดก็คงไม่ดีแน่ เราจึงมีคำแนะนำเกี่ยวกับของที่เราหาได้ง่ายๆ และยังปลอดภัยกับตัวเรา แถมเป็นของ 2 สิ่งที่น่าจะมีติดครัวของหลายๆบ้าน อย่าง Baking Soda หรือโซเดียมไบคาร์บอเนต ที่เราใช้ในการทำขนมเค้ก และน้ำส้มสายชูนั่นเองค่ะ

ทั้งโซเดียมไบคาร์บอเนต และน้ำส้มสายชู จะว่าไปแล้วก็สามารถทำความสะอาดได้ทุกพื้นที่ ตลอดจนช่วยกำจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ได้ด้วย มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค ไม่มีสารพิษ และช่วยกำจัดกลิ่น สำหรับ Baking Soda นั้น มีการค้นพบมานานแล้วว่ามันสามารถกำจัดเชื้อราได้ และปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อม

งานวิจัยจาก มหาวิทยาลัยคอร์แนล ได้ใช้ Baking Soda ผสมน้ำ ฉีดให้กับพืชเพื่อกำจัดเชื้อราด้วย จึงปลอดภัยกับสิ่งแวดล้อม ชัวร์ค่ะ Baking Soda หาซื้อได้ตามซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป วิธีใช้ก็ง่ายๆค่ะ มาดูว่าเราจะใช้มันทำความสะอาดอะไรได้บ้าง

• ทำความสะอาดเชื้อรา และคราบดำบนพื้นและผนัง
  1. เพียงโรยผง Baking Soda ในจุดที่ต้องการทำความสะอาดให้ทั่ว ทิ้งไว้สักพัก แล้วเช็ดล้างด้วยน้ำอุ่น ใช้แปรงขัด แล้วฉีดน้ำตามก็ได้

  2. หรือ ใช้ผง baking soda ผสมกับน้ำ คนให้เข้ากัน แล้วใช้ขัดถูได้เลยค่ะ

  3. อีกวิธี โรยผง Baking Soda ให้ทั่วบริเวณคราบดำ แล้วเทน้ำส้มสายชูตาม จะฟู่ๆ แล้วทิ้งไว้สักพัก ฉีดน้ำ คราบเชื้อราจะหลุดออกมาเป็นแผ่นๆเลยค่ะ ทดลองทำมาแล้วค่ะ ได้ผลจริงๆ

• การกำจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ก็เช่นกัน ใช้ผง Baking Soda โรยบริเวณขยะ ระหว่างรอให้คนมาเก็บไป

• เช็ดล้างคราบน้ำมัน เช่นกัน โรย Baking Soda ทิ้งไว้สักพัก แล้วใช้น้ำอุ้นล้างออก

• ใช้ฆ่าเชื้อโรค แล้วก็กำจัดกลิ่นเหม็น ภาชนะหรือข้าวของบางอย่างที่เราเก็บไม่ทัน แล้วถูกน้ำท่วม ก็เอาแช่ Baking Soda ค้างคืนไว้เลยค่ะ ฆ่าเชื้อโรค แล้วก็กำจัดกลิ่นให้หมดไป

• ขจัดคราบ ขจัดกลิ่น ใช้ baking soda ผสมกับผงซักฟอก เพื่อทำความสะอาดผ้าต่างๆ เพิ่มประสิทธิภาพในการขจัดคราบ และกำจัดกลิ่นค่ะ

• ทำความสะอาดโซฟาก็ยังได้ ใช้ baking soda ผสมน้ำอุ่นทำความสะอาดโซฟาผ้า และ พรม

ลองดูนะคะ เข้าไปดูบ้านคราวนนี้ลองติด Baking Soda กับน้ำส้มสายชูไปด้วยค่ะ เผื่อจะใช้กำจัดคราบสกปรก และกลิ่นไม่พึงประสงค์ออกไป และยังไม่ทิ้งสารพิษตกค้าง ปลอดภัยกับคน และสิ่งแวดล้อมด้วยนะคะ



credit: http://www.iurban.in.th/greenery/green-cleaning/

Thursday, November 10, 2011

ความรู้เรื่องท่อและระบบประปา

ความรู้เรื่องท่อและระบบประปา

(Knowledge of piping & plumbing)

# ชนิดของท่อประปา

- ท่อประปาเหล็กอาบสังกะสี

ข้อดี มีความแข็งแรง รับน้ำหนักได้ดี ทนทานต่อแรง กระแทกได้ ไม่หักงอ ทนต่อความดันและอุณหภูมิที่สูงๆ เช่น เครื่องทำน้ำร้อน

ข้อเสีย ราคาค่อนข้างแพง ถ้าใช้ไปนานๆ อาจเกิดสนิม ได้ โดยเฉพาะที่ฝังอยู่ในดิน อาจเป็นอันตราย ถ้านำน้ำในท่อ มารับประทาน

- ท่อประปาพีวีซี (PVC.)

ข้อดี น้ำหนักเบา ราคาถูกกว่า สามารถดัดงอได้ และ ไม่เกิดสนิมน้ำในท่อจะสะอาดกว่า

ข้อเสีย ไม่สามารถทนต่อแรงกระแทกแรงๆ ได้ ไม่ทน ต่อความดันและอุณหภูมิที่สูง

- ชนิดของท่อพีวีซี (PVC.)
ท่อพีวีซี (PVC.) แบ่งตามชนิดการใช้งาน โดยใช้สี ดังนี้

1. ท่อสีเหลือง เป็นท่อสำหรับร้อยสายไฟฟ้า และสาย โทรศัพท์ เพราะสามารถทนต่อความร้อนได้อย่างดี
2. ท่อสีฟ้า เป็นท่อที่ใช้กับระบบน้ำ เช่น น้ำดี น้ำเสีย และการระบาย สามารถทนแรงดันน้ำได้มากน้อยตามประเภท การใช้งาน (มีหลายเกรด)
3. ท่อสีเทา เป็นท่อที่ใช้สำหรับการเกษตร หรือน้ำทิ้ง ก็ได้ ราคาค่อนข้างถูก ไม่ค่อยแข็งแรง ควรจะเดินลอย ไม่ควร ฝังดิน

วิธีการ เดินท่อประปา

โดยทั่วไปแล้วการเดินท่อประปาภายในบ้าน จะมีอยู่ 2 ชนิด คือ

1. การเดินท่อแบบลอย คือ การเดินท่อติดกับผนัง หรือวางบนพื้น การเดินท่อแบบนี้จะเห็นได้ชัดเจน สามารถ ซ่อมแซมได้ง่าย เมื่อเกิดปัญหา แต่จะดูไม่สวยงาม

2. การเดินท่อแบบฝัง คือ การเจาะสกัดผนัง แล้ว เดินท่อ เมื่อเรียบร้อยแล้วก็ฉาบปูนทับ หรือเดินซ่อนไว้ใต้ เพดานก็ได้ ซึ่งจะดูเรียบร้อยและสวยงาม แต่เมื่อมีปัญหาแล้ว จะซ่อมแซมยาก

วิธีการเดินท่อประปาในส่วนที่อยู่ใต้ดิน

การเดินท่อประปาจะมีทั้ง ท่อส่วนที่อยู่บนดิน และบาง ส่วนจะต้องอยู่ใต้ดิน ในส่วนที่อยู่บนดิน อาจใช้ท่อ PVC. หรือท่อเหล็กชุบสังกะสี (GAVANIZE) ก็ได้ แต่สำหรับท่อ ที่อยู่นอกอาคาร โดยเฉพาะท่อที่อยู่ใต้ดิน บริเวณใต้อาคาร ควรใช้ท่อ PE ท่อชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษในการบิดงอโค้งได้ ในกรณีเดินผ่านเสาตอม่อ หรือคานคอดิน สำหรับท่อธรรมดา จะมีข้อต่อมากซึ่งเสียงต่อการรั่วซึม และที่สำคัญเมื่อมีการทรุด ตัวของอาคาร หากเป็นท่อ PVC. หรือท่อเหล็กชุบสังกะสี จะ ทำให้ท่อแตกร้าวได้ แต่ถ้าเป็นท่อ PE จะมีความยืดหยุ่นกว่า ถึงแม้จะมีราคาที่สูง แต่ก็คุ้มค่า เพราะถ้าเกิดการรั่วซึมแล้วจะ ไม่สามารถทราบได้เลย เพราะอยู่ใต้ดิน

วิธีการใช้สต๊อปวาล์ว เมื่อติดตั้งสุขภัณฑ์

โดยทั่วไปการติดระบบ ประปากับสุขภัณฑ์ เพียงต่อท่อ น้ำดีเข้ากับตัวเครื่องสุขภัณฑ์ก็สามารถใช้งานได้แล้ว แต่ถ้าเกิด ปัญหาที่จะต้องการซ่อมแซม ก็จะต้องปิดมิเตอร์น้ำด้านนอก เพื่อหยุดการใช้น้ำ ซึ่งจะทำให้ภายในบ้านทั้งหมดไม่สามารถใช้ น้ำได้ ทางออกที่ดีก็คือ ให้เพิ่มสต๊อปวาล์วในบริเวณส่วนที่จ่าย น้ำเข้ากับสุขภัณฑ์ เพื่อที่เวลาทำการซ่อมแซม สามารถที่จะปิด วาล์วน้ำได้ โดยที่น้ำในห้องอื่นๆ ก็ยังสามารถใช้งานได้

วิธีการตรวจสอบระบบประปา

ตรวจ สอบอุปกรณ์ภายในบ้าน โดยปิดก็อกที่มีอยู่ ทั้งหมดแล้วสังเกตที่มาตรวัดน้ำ ถ้าตัวเลขเคลื่อน แสดงว่า มีการรั่วไหลเกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากการรั่วซึม หรือมีอุปกรณ์ บางอย่างแตกหักหรือชำรุด ก็จัดการหาช่างมาแก้ไขให้เรียบ ร้อย นอกจากภายในบ้านแล้วยังสามารถตรวจสอบการรั่ว ไหลของน้ำในเส้นท่อที่อยู่นอกบ้าน โดยสังเกตพื้นดินบริเวณ ท่อแตกรั่วนั้น จะมีน้ำซึมอยู่ตลอดเวลา และบริเวณนั้นจะ ทรุดตัวต่ำกว่าที่อื่น นั่นคือสาเหตุที่ทำให้น้ำประปาไหลอ่อน

รู้ให้ครบ ระบบน้ำใช้



ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับน้ำประปา

- แนะนำการใช้น้ำประปาในภาวะน้ำท่วม
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/situations/25260
http://www.mwa.co.th/2010/ewt/mwa_internet/ewt_news.php?nid=5462&filename=Template_Design_Template_department_01

- การแก้ปัญหาน้ำประปาเหลือง
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/situations/25060

- การทำน้ำสะอาดด้วยตนเอง สำหรับบ้านเรือน
http://www.eng.chula.ac.th/?q=node/3847

- การผลิตน้ำสะอาดสำหรับใช้ (เท่านั้น) ด้วยตนเองในสภาวะน้ำท่วม
http://www1.eng.chula.ac.th/?q=node/3821

- รับมือกับขยะ เพื่อลดการระบาดของเชื้อโรคในช่วงน้ำท่วม
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/news_thaihealth/25232

Sunday, November 6, 2011

เทคนิคซ่อมบ้านด้วยวิธีง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง

เทคนิคง่ายๆ ที่ใครๆในบ้านก็ทำได้ ครั้งนี้เรานำเสนอ "วิธีการซ่อมแซมบ้านด้วยฝีมือคุณเองในแบบวิธีง่ายๆ"

เทคนิคซ่อมบ้านด้วยวิธีง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง
(Do It Yourself - Home Repair)

การซ่อมผนังฉาบปูนที่แตกร้าว

ผนังฉาบปูนที่แตกร้าว มักเกิดขึ้นภายหลังการก่อสร้างเสมอ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากคานไม่สามารถรับน้ำหนักได้ ซึ่งทำให้คานหย่อนลงมา แล้วกดผนังก่ออิฐให้แตกร้าว , อาจเกิดจากส่วนผสมของปูนไม่สม่ำเสมอ , ปูนฉาบหนาไม่พอ , วัสดุก่อสร้างเสื่อมคุณภาพ หรือการปล่อยให้ปูนสูญเสียน้ำหลังจากการฉาบ เป็นต้น วิธีแก้ไขทำได้โดย

1. ให้สกัดผิวที่ร้าวกว้างอย่างน้อย 1/2 นิ้ว โดยให้ลึกถึงผิวอิฐ

2. หลังจากนั้นทำความสะอาดรอยสกัด แล้วราดน้ำให้ชุ่ม

3. ฉาบปูนทราย แล้วแต่งผิวให้เรียบ หากผนังมีน้ำซึมควรใช้วัสดุกันซึม เช่น น้ำยาอีพ็อกซี เป็นต้น

4. ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วทำการทาสีเพื่อปกปิดรอยซ่อม

การซ่อมพื้นคอนกรีตที่แตกร้าว

มักพบอยู่เสมอ สำหรับบ้านพักอาศัย หรือสำนักงานที่เทพื้นคอนกรีต ลักษณะการแตกคือ จะเป็นเส้นเล็กๆ คล้ายตาข่ายแบบสังคโลก ลักษณะเช่นนี้ไม่ทำให้พื้นเสียกำลังแต่จะทำให้ความสวยงามลดลง ส่วนรอย ร้าวที่ลึกลงไปจากผิวมากนั้น ควรให้ความสนใจอย่างมากว่าเกี่ยวข้องกับการส่วนโครงสร้างที่รับกำลังหรือไม่ เพราะจะ ทำให้เกิดการยุบพังลงได้ รอยแตกที่ไม่เกี่ยวข้องกับส่วนที่เป็นโครงสร้างของอาคารนั้น เราสามารถซ่อมแซมกันเองได้

1. ให้สกัดตามรอยร้าวลึกเข้าไปจากรอยเส้นประมาณ 1-2 นิ้ว

2. จากนั้นปัดฝุ่นที่สกัดออกให้หมด แล้วราดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งผิวให้แห้ง

3. ผสมปูนทราย อัตราส่วน 1 ต่อ 2 โดย ปูน 1 ส่วน ทราย 2 ส่วนให้เข้ากันทิ้งไว้ให้หมาด

4. ฉาบปูนที่รอยแตก แต่ถ้ารอยแตกเป็นเส้นให้ใช้ปูนทราย

5. สุดท้ายแต่งผิวให้เรียบ ทิ้งไว้ให้แห้ง

การซ่อมกระเบื้องห้องน้ำ

วิธีการซ่อมกระเบื้องห้องน้ำคือ

1. เตรียมผิวที่แตกโดยการนำสกัดปากแบน ค่อยๆสกัดให้ปูนเก่าออกให้หมดโดยรอบ ควรระวังไม่ให้กระเบื้องแผ่น อื่นหลุดออกมาอีก

2. จากนั้นทำความสะอาดผิว แล้วพรมน้ำให้ชุ่มทิ้งใว้หมาด

3. นำปูนทรายอัตราส่วน 1 ต่อ 1 ปาดใส่ส่วนที่สกัด

4. นำกระเบื้องที่ได้ทำการเลือกให้เข้ากับลวดลายหรือสีเดิมมาแปะลงไป ( แต่ก่อนทำการแปะควรแช่น้ำไว้ประมาณ 1 ชั่ว โมงก่อน )



การซ่อมพื้นปาเก้โมเสดไม้

ส่วนใหญ่เมื่อเกิดน้ำท่วมขึ้น จะทำให้ปาเก้หลุดร่อนเกิดความเสียหาย บางครั้งอาจจะหลุดร่อนทั้งพื้น หากเกิดเหตุการณ์เช่น นั้นควรให้ช่างมาตีราคาเพื่อซ่อม ไม่ควรคิดจะซ่อมเอง แต่หากเกิดการหลุดร่อนแค่ไม่กี่ชิ้นเราก็พอจะซ่อมแซมเองได้

สำหรับสาเหตุที่ทำให้ปาเก้หลุดร่อนมีดังนี้

1. เนื่องจากติดกาวไม่อยู่ หรือไม่ค่อยแน่น คือ เรียบขัดก่อนกาวแห้ง หรือทากาวไม่สม่ำเสมอ

2. มีน้ำขังบนพื้น เป็นเวลานานทำให้ไม้พองตัวโก่งตัวขึ้นมา

3. ปลวกกินไม้ ทำให้ไม้เป็นแอ่ง ไม่เรียบ หรือเป็นรอย ไม่สวยงาม

วิธีการซ่อมแซม ให้ทำดังนี้

1. ให้สำรวจว่าใช้ปาเก้ไม้ชนิดใด เช่น ไม้แดง ไม้สัก ไม้มะค่า หรือไม้เนื้อแข็งธรรมดา จัดซื้อใหม่ตามร้านรับปูปาเก้

2. เตรียมชิ้นไม้ให้แห้ง ซื้อกาวลาเท็กซ์หรือหากาวติดไม้มาใช้

3. เตรียมพื้นสำหรับการติดกาว โดยใช้สกัดปากแบนหรือไขควงเก่าๆ ขูดเอาเศษกาวเก่าออกให้หมดปัดฝุ่นให้สะอาด

4. ทากาวลาเท็กซ์ที่เตรียมไว้ป้ายให้หนาประมาณ 1-2 มิลลิเมตร นำชิ้นไม้ที่หลุดมานั้นสอดไว้ที่เดิม ค่อยๆ กด และ เคาะเบาๆ โดยต้องรักษาระดับผิวของไม้ให้เท่าเดิม

5. จากนั้นทิ้งไว้ให้กาวแห้งสนิท อย่างน้อย 15 วัน

6. นำกระดาษทรายเบอร์ 0 ที่ละเอียดมาขัดตามรอยต่อ ให้ชิ้นไม้เสมอกัน นำน้ำมันวานิชผสมทินเนอร์ทาบาง ๆ 2-3 ครั้งจนกระทั่งได้ระดับแล้วขัดด้วยกระดาษทรายอีกครั้งจบเรียบ

7. นำดินสอพองผสานแชลแลคตามสีที่ย้อมให้เหมือนกับของเดิม อุดเสี้ยนพอแห้งแล้วขัดกระดาษทรายอีกครั้ง ทาแชลแลคสีเดิม ย้อมผิวก่อน เอากระดาษทรายลูบแล้วจึงผสมน้ำมันเคลือบผิวไม้กับทินเนอร์ให้ใส ..เป็นอันเสร็จ

การซ่อมผิวเฟอร์นิเจอร์ด้วยเลคเกอร์

สำหรับผู้ที่มีเฟอร์นิเจอร์เก่า แล้วมีความสนใจที่ซ่อมแซมให้ดูใหม่ เช่นอยากให้ความเงางามเช่นเดิมแก่โต๊ะ เก้าอี้ จะต้องเตรียมอุปกรณ์ ดังนี้ เลคเกอร์ โดยประมาณจำนวนโดยคิดเทียบจาก เก้าอี้ 5 ตัวและโต๊ะอาคาร 1 ตัวใช้เลคเคอร์ประมาณ 1/2 แกลลอน ทินเนอร์ 1 แกลลอน กระดาษทรายเบอร์ 0 ประมาณ 12 แผ่น แปรงขนกระต่ายหรือแปรงทาแชลแลคสัก 2-3 อัน ชาม โลหะเคลือบสัก 2 ใบ หลังจากเตรียมอุปกรณ์พร้อมแล้วเริ่มซ่อมดังนี้

1. ให้ขัดกระดาษทรายให้ผิวเดิมหลุดออกให้มากที่สุด เพราะถ้าทาทับลงไปจะทำให้ผิวไม้ด่างแก้ไขยาก

2. แล้วผสมเลคเคอร์ลงในชามเคลือบอย่าให้ข้นมาก ทาลงไปก่อน 1 เที่ยว

3. ทิ้งไว้ให้แห้งประมาณ 30 นาที แล้วลูบดูหากผิวขรุขระหรือหยาบอยู่ให้ใช้กระดาษทรายขัดอีกาครั้งจนผิวเรียบ

4. ทาเลคเคอร์เป็นครั้งที่ 2 ทิ้งไว้ให้แห้ง

5. ทาเลคเคอร์เป็นครั้งที่ 3 บริเวณที่ต้องการให้ผิวมันเป็นพิเศษทิ้งไว้ให้แห้ง


credit: http://www.homeexpert.in.th

Friday, November 4, 2011

วิธีการจัดการ ซ่อมแซม ฟื้นฟู ดูแลบ้าน "บ้านหลังน้ำท่วม" เกี่ยวกับ ระบบไฟฟ้า ระบบประปา อุปกรณ์ไฟฟ้า พื้นไม้ปาเก้ และผนังบ้านชนิดต่างๆ (ตอนที่ 2)

# การซ่อมแซมประตู หลังน้ำท่วม

ประตูต่างๆ เมื่อถูกน้ำแช่อยู่นานๆ ก็จะบวมขึ้น หรือไม่ก็จะเกิดเป็นสนิม มีวิธีแก้ไขคือ

• ประตูไม้ เมื่อโดนแช่น้ำก็จะบวมและผุพัง มีวิธีแก้ก็โดยทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วซ่อมแซมส่วนที่ผุให้เรียบร้อยแล้วจึงทาสีใหม่ แต่ถ้าผุมาก ก็ควรจะเปลี่ยนเลย

• ประตูเหล็กที่ขึ้นสนิม ก็ใช้กระดาษทรายขัดสนิมออกให้หมด เช็ดให้สะอาดแล้วจึงทาสีใหม่ โดยอย่าลืมทาสีกันสนิมก่อน แต่อย่าลืมดูรอยต่อต่างๆ โดยเฉพาะที่เป็นท่อโครงเหล็กว่า มีน้ำหลงเหลืออยู่เหลือเปล่า ต้องให้แห้งจริงๆ ก่อนจึงจะทาสีได้

• ประตูพลาสติก ส่วนใหญ่จะทนน้ำได้ แต่ให้ระวังอาการที่มีน้ำขังสกปรก ให้หาวิธีเช็ดซับน้ำออก หรือเจาะรูให้น้ำออก

ทีนี้เวลาที่ ประตูบวมน้ำ หรือมีน้ำขังข้างใน จะทำให้น้ำหนักมากและประตูเอียง จากบานพับรับน้ำหนักไม่ไหว หาลิ่มมายันไว้ก่อนให้ใกล้เคียงปกติ แล้วพยายามทำให้แห้งที่สุด จากนั้น ถ้ายังเอียงอยู่ จะไขน็อตเพิ่มหรือเปลี่ยนบานพับก็ตามสมควรครับ

# การซ่อมแซม บานพับ ลูกบิด และรูกุญแจหลังน้ำท่วม

อุปกรณ์ต่างๆ เช่น บานพับ ลูกบิด และรูกุญแจ ทำด้วยโลหะ เมื่อโดนน้ำท่วมย่อมมี ปัญหาตามมา มีวิธีแก้ไข คือ

• เช็ดให้แห้งสนิท ขัดส่วนที่เป็นสนิมออกให้หมด ใช้พวกน้ำยาหล่อลื่นชโลมตามจุดรอยต่อและรูต่างๆ ให้ทั่ว

• อย่าใช้จาระบี หรือพวกขี้ผึ้งทา เพราะจะทำให้ความชื้นระเหยออกไม่ได้ จะทำให้ฝังอยู่ข้างใน และจะเป็นปัญหาในภายหลัง

• ถ้ายังใช้การไม่ได้ ก็ลองทำตามวิธีที่ว่านี้หลายๆ ครั้ง ถ้ายังมีปัญหา ก็ควรจะต้องถอดออก แล้วซื้อมาเปลี่ยนใหม่

# ซ่อมแซมสีทาบ้านหลังน้ำท่วม

การซ่อมแซมสีทาบ้านทั้งภายนอกและภายใน ควรเป็นสิ่งสุดท้ายในการแก้ไขปรับปรุงบ้าน เพราะเป็นเรื่องของเวลาที่ต้องปล่อยทิ้งให้ความชื้นหรือน้ำในตัววัสดุ ระเหยออกไปให้ได้มากที่สุดครับ มิฉะนั้นท่านทาสีทับไปดีอย่างไร ก็จะเกิดอาการหลุดล่อนในที่สุดครับ

• ข้อควรคิดสำหรับการซ่อมแซมสี คือ ปัญหาสีลอก สีล่อนไม่ได้เกิดจากคุณภาพของสีแต่เกิดจากความไม่พร้อมของพื้นผิวที่ทาสี หากพื้นผิวที่ทาสีมีความชื้นหรือสิ่งสกปรกติดอยู่ทาสีทับอย่างไรสีก็จะ ล่อนออกมาอยู่ดีครับ

• ข้อพึงกระทำเวลาซ่อมสี คืออย่างเพิ่งรีบทาสี ให้ทำความสะอาดลอกสีเดิมทิ้งออกมาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (เฉพาะที่มีปัญหานะครับ) แล้วทิ้งไว้นานๆ หลายๆ เดือนอาจรอจนถึงหน้าร้อนปีหน้าแล้วค่อยทาสีตามกรรมวิธีของผู้ผลิตก็ไม่สาย

# การซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์หลังน้ำท่วม

การซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์ก็คล้ายๆ กับการซ่อมแซมพวกประตู หน้าต่าง พื้น หรือฝ้า เพดาน มีวิธีดังนี้

• พยายามเอาความชื้นออกจากเฟอร์นิเจอร์ให้มากที่สุด

• พวกประเภทที่บุด้วยนุ่นหรือฟองน้ำ ถ้าเป็นไปได้ควรเปลี่ยนเลย เพราะน้ำจะพาเอาเชื้อโรคมาติดอยู่ ถึงจะตากแดดให้แห้ง เชื้อโรคก็ยังมีอยู่

• เฟอร์นิเจอร์ที่ติดกับที่ ที่เรียกว่า "Built in" ต้องตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้าง และสายไฟที่ฝังอยู่ในตู้ รวมถึงทำความสะอาดรูกุญแจและลูกบิด

• ส่วนเฟอร์นิเจอร์ไม้ ไม่ควรนำไปตากแดด เพราะจะทำให้บิดงอได้ และถ้าจะทาสีใหม่ ควรรอให้แห้งสนิทก่อน มิฉะนั้นจะลอกได้

# ทำความสะอาดพรมหลังน้ำท่วม

• ใช้สายยางฉีดน้ำแรงๆ เผื่อไล่สิ่งติดค้าง สิ่งสกปรกออกไป

• รีดน้ำที่ขังอยู่ในพรมออกไป โดยการใช้อุปกรณ์ที่กดรีดได้ หรือม้วนบีบ (อย่าบีบแรงเกิน เดี๋ยวเนื้อพรมจะรวน)

• ใช้แชมพูสระผมเด็กในการทำความสะอาด ควรทำความสะอาดพรมแล้วล้างออก จนกระทั่ง น้ำล้างใสสะอาด

• ผึ่งแดดให้แห้ง


# ทำความสะอาดเตียงนอนหลังน้ำท่วม

เตียงนอน ถ้าจมน้ำละก้อ กลายเป็นเรื่องน่าปวดหัวในการทำความสะอาดอย่างมาก แต่ถ้าคุณอยากจะนำมันกลับมาใช้ต้องพยายามกันหน่อย

• ตากแดดให้แห้ง โดยพลิกคว่ำไว้ ตีแรงๆหลายๆครั้ง (ไล่น้ำ ไล่ฝุ่นออก)

• ทำความสะอาดขจัดคราบเปื้อนต่างๆ ฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อโรคแล้วผึ่งแดดอีกครั้ง

• ฉีดสเปรย์ดับกลิ่น แล้วใช้ผ้าปูรองนอน

# ขจัดความชื้นในบ้านหลังน้ำท่วมให้ได้มากที่สุด

ข้อสุดท้าย อย่าลืมนะครับว่า หัวใจของการซ่อมบ้าน ดูแลบ้าน ส่วนหนึ่งคือ การขจัดความชื้นออกจากบ้าน และเฟอร์นิเจอร์ และส่วนประกอบต่างๆของบ้าน โดยเร็ว เพราะยิ่งชื้อนานก็จะเป็นแหล่งเพาะเชื้อ และรา ได้

• เปิดหน้าต่าง ประตูระบายและถ่ายเทอากาศให้ได้มากที่สุด

• ตู้ที่เปียกก็เปิดทิ้งไว้ ให้ระบายความชื้นเช่นกัน

• ใช้พัดลม เปิดแอร์ (โหมดพัดลม)ก็ได้ จะเป็นการระบายความชื้นได้ครับ

• ใช้สารดูดความชื้น (แบบเดียวกับที่มาใน ห่อขนม ห่อสาหร่าย หรือกล่องรองเท้าน่ะครับ)

• ถ้าเร่งให้แห้งเร็ว ก็ใช้พวกไดร์เป่าผมกับส่วนที่ต้องการให้แห้งเร็ว

# ขจัดเชื้อโรคเชื้อราหลังน้ำท่วม


• สำหรับพื้น เก้าอี้ เครื่องไม้เครื่องมือ เตาอบ ผนังบ้าน สามารถใช้น้ำยาประเภทล้างครัวเรือน ผนังห้องน้ำ (bleach) ได้ เพื่อขจัดเอาเชื้อโรค เชื้อราที่ฝังตัวออกไป

• สำหรับเสื้อผ้าที่จมน้ำท่วม ซักผ้าแล้วลวกน้ำร้อนด้วยเลย

• สำหรับจานชามช้อนให้ล้างด้วยน้ำยาล้างจานใหม่หมด

• ที่สำคัญระหว่างทำความสะอาดสิ่งของเหล่านั้น หลีกเลี่ยงการสัมผัสสูดดม (ทั้งเชื้อโรค และสารเคมีน้ำยาที่ใช้) ด้วยการใส่ถุงมือ และหน้ากาก


» วิธีการจัดการ ซ่อมแซม ฟื้นฟู ดูแลบ้าน "บ้านหลังน้ำท่วม" เกี่ยวกับ ระบบไฟฟ้า ระบบประปา อุปกรณ์ไฟฟ้า พื้นไม้ปาเก้ และผนังบ้านชนิดต่างๆ (ตอนที่ 1)


credit: หนังสือ "บ้านหลังน้ำท่วม" โดย คุณยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
ที่มา http://www.beat2010.net , http://news.mthai.com

image credit: http://www.homedecorthai.com
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...